Last updated: 4 พ.ค. 2567 | 236 จำนวนผู้เข้าชม |
พ.ร.บ.รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ฉบับ 2567
การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนมีรถยนต์ส่วนตัวจะต้องทำทุกๆปี อย่าปล่อยให้ภาษีขาดเพราะอาจถูกปรับได้ ความสำคัญของ พ.ร.บ. ไม่ใช่แค่ใช้เพื่อต่อภาษีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการประกันภัยภาคบังคับที่ให้ความคุ้มครองเเก่ผู้ขับขี่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุอีกด้วย มาดูกันว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?
ความคุ้มครองที่ผู้ทำ พ.ร.บ. สามารถใช้สิทธิ์เคลมได้มี 2 ส่วนคือ
1. ค่าเสียหายเบื้องต้นจากอุบัติเหตุ
ส่วนนี้สามารถเคลมได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แบ่งเป็น
กรณีมีผู้บาดเจ็บ สามรถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง วงเงินสูงสุด 30,000 บาท ต่อคน
กรณีบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ สามารถเคลมได้สูงสุด 35,000 บาท ต่อคน
กรณีมีผู้เสียชีวิต ทายาทสามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่นเกี่ยวกับงานศพ วงเงิน 35,000 บาท ต่อคน
2. ค่าเสียหายส่วนเกิน
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง กรณีที่เจ้าของรถไม่ได้เป็นฝ่ายผิด?
กรณีบาดเจ็บ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลเพิ่มจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยนับรวมทั้งสองส่วนแล้วไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
กรณีที่ร่างกายสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินทดแทน 200,000 – 500,000 บาท ต่อคนขึ้นอยู่กับอวัยวะ วงเงินนี้นับรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อแรกแล้ว
กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ผู้ที่เป็นทายาทสามารถเคลมเงินชดเชยเพิ่มโดยนับรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อแรกแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กรณีที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลสามารถเคลมค่าชดเชยได้วันละ 200 บาทรวมไม่เกิน 20 วัน
จะเห็นว่า พ.ร.บ. มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนต้องมี หากใครที่ พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุอย่าลืมต่อให้เรียบร้อย
* พ.ร.บ. มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนต้องมี หากใครที่ พรบ. ใกล้หมดอายุ อย่าลืมต่อให้เรียบร้อยนะครับ *
27 ส.ค. 2566
25 มี.ค. 2566
3 ธ.ค. 2565